______________________________________________________________________________________
บุญลอง นรจิตต์ (bnorogitt@hotmail.com)
ผู้พิพากษา ด้วยหน้าที่การงานในปัจจุบันจึงเป็นคลังรวบรวมข้อมูล
และประเด็นกฎหมายเกี่ยวกับอสังหาฯ มากที่สุดคนหนึ่ง
และด้วยประสบการณ์การเป็นคอลมนิสต์กว่า 4 ปี จึงเข้าใจได้ลึกซึ้ง
ในหลากหลายแง่มุมที่เป็นความต้องการของผู้บริโภค
เมื่อไม่นานมานี้มีข่าวลูกบ้านโครงการบ้านจัดสรรฟ้องเจ้าของโครงการเรื่องไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์สาธารณูปโภคส่วนกลางให้กับลูกบ้านได้ ประเด็นนี้เห็นว่าน่าสนใจจึงนำมาอธิบายเล่าสู่กันฟัง เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับคนที่จะซื้อได้ทราบเป็นข้อมูลก่อนการตัดสินใจเรื่องของเรื่องก็คือลูกบ้านของโครงการหมู่บ้านจัดสรร่วมกันฟ้องเจ้าของโครงการว่าผิดสัญญา เพราะไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์สาธารณูปโภคส่วนกลางแก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ที่เป็นเช่นนี้เพราะมีบริษัทอื่นถือกรรมสิทธิ์ร่วมอยู่ด้วย และมีปัญหาที่ลูกบ้านของโครงการอื่นที่บริษัทนั้นถือกรรมสิทธิ์ร่วมอยู่เข้ามาใช้ประโยชน์ในสาธารณูปโภคส่วนกลางนี้ได้ด้วย จึงขอให้บังคับเจ้าของโครงการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ถ้าโอนไม่ได้ต้องชดใช้เงิน
การอธิบายเรื่องนี้คงต้องย้อนไปถึงเรื่องการขออนุญาตจัดสรรที่ดินซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 (ประกาศใช้ก่อนเกิดโครงการดังกล่าว) เกี่ยวกับเงื่อนไขการขออนุญาตจัดสรรที่ดินว่าในการขออนุญาตจัดสรรที่ดินเจ้าของโครงการหมู่บ้านจัดสรรจะต้องแสดงโฉนดที่ดินที่ตนมีกรรมสิทธิ์ต่อเจ้าพนักงานที่ดิน แสดงผังส่วนที่เป็นสาธารณูปโภคส่วนกลาง นอกจากนั้นยังจะต้องมีหลักประกันในการจัดทำโครงการให้แล้วเสร็จ ซึ่งรวมถึงสาธารณูปโภคส่วนกลางทั้งหลายที่ทำแบบเอาไว้ จึงกำหนดให้ต้องวางหนังสือค้ำประกันต่อคณะกรรมการจัดสรรที่ดินเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวเอาไว้ด้วย มิฉะนั้นแล้วคณะกรรมการมีอำนาจยึดเงินประกันดังกล่าวจากธนาคารได้ หรือจะมอบหมายให้ผู้ค้ำประกันจัดทำโครงการเองให้แล้วเสร็จก็ได้
Continue reading